วันจันทร์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2557
ทริปแอดไวเซอร์เปิดตัวทริปบารอมิเตอร์ฉบับใหม่เผยจิตวิทยาการท่องเที่ยว พบ 7 ใน 10 ของนักท่องเที่ยวชาวไทยต้องการอิสระระหว่างท่องเที่ยววันหยุด
คนไทยมีแนวโน้มปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมได้ง่าย พร้อมเรียนรู้สิ่งใหม่และเริ่มสร้างความสัมพันธ์ใหม่ๆในช่วงวันหยุด ทริปแอดไวเซอร์ประกาศผลการวิจัยทริปบารอมิเตอร์ครั้งล่าสุดซึ่งเน้นในเรื่องจิตวิทยาการท่องเที่ยวครั้งที่ 4 นำเสนอข้อมูลทางด้านจิตวิทยาการท่องเที่ยวซึ่งได้มาจากการตรวจสอบแรงจูงใจในการออกไปเดินทางท่องเที่ยว สภาวะอารมณ์ของนักท่องเที่ยวในช่วงระยะต่างๆของการเดินทางท่องเที่ยว และผลกระทบหลังจากการเดินทางท่องเที่ยว โดยการวิจัยทริปบารอมิเตอร์จัดทำโดย Ipsos ถือเป็นการนำเสนองานวิจัยเกี่ยวกับการท่องเที่ยวและที่พักที่ใหญ่ที่สุดในโลก มุ่งเน้นนำเสนอเทรนด์การท่องเที่ยวของแต่ละประเทศ แต่ละภูมิภาค และในระดับสากลโดยความร่วมมือจากนักท่องเที่ยวและผู้ที่ทำงานในอุตสาหกรรมโรงแรมกว่า 53,000 คนทั่วโลก ในประเทศไทยมีผู้เข้าร่วมตอบแบบสอบถามถึง 765 คน โดยการสำรวจด้านจิตวิทยานี้เป็นการวิจัยประจำปีซึ่งจัดทำขึ้น 2 ครั้งต่อปีในนามของทริปแอดไวเซอร์ จิตวิทยาการท่องเที่ยว: สาเหตุจูงใจที่ทำให้เราอยากออกไปเดินทางท่องเที่ยว สรุปผลงานวิจัยจาก Ipsos ทำการศึกษาครอบคลุมในหลายๆประเด็นซึ่งทำให้เข้าใจความต้องการด้านจิตวิทยาที่แตกต่างกันและแรงจูงใจที่ส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมของมนุษย์ในสถานที่และสถานการณ์ที่แตกต่างกัน เพื่อที่จะค้นหาเหตุผลทางจิตวิทยาในการท่องเที่ยวสำหรับงานวิจัยชิ้นนี้ นักเดินทางที่เข้าร่วมตอบแบบสอบถามในครั้งนี้จะต้องเลือกชุดคำแถลงสองชุดซึ่งเป็นการบรรยายถึงความรู้สึกที่ตนต้องการได้รับในขณะเดินทางไปพักผ่อนมากที่สุด ผลการสำรวจเผยให้เห็นว่า “การเสริมสร้างมุมมองให้ชีวิต” ถือเป็นแรงจูงใจหลักที่นักเดินทางทั่วโลกเลือกในการเดินทางท่องเที่ยว (71%) ตามมาด้วย “ความรู้สึกเป็นอิสระเสรี” (62%) สำหรับนักท่องเที่ยวชาวไทยกลับให้ความสำคัญกับ “ความรู้สึกเป็นอิสระเสรี” มากเป็นอันดับหนึ่งถึง 69 เปอร์เซ็นต์ ตามมาด้วย “การหลอมลวมตนเองกับวัฒนธรรมท้องถิ่น” และ “การเสิมสร้างมุมมองในชีวิต” ที่ 56 เปอร์เซ็นต์และ 54 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ ในขณะที่ “การอยู่ในระบบระเบียบ” และ “ความรู้สึกมีสมดุล” นั้นถือเป็นแรงจูงใจอันดับท้ายๆของนักท่องเที่ยวทั่วโลกเพียง 21 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ในการเสริมสร้างมุมมองให้ชีวิต ถือเป็นแรงจูงอันดับต้นๆของนักท่องเที่ยวทั่วโลก แต่หากมองให้ดีจะเห็นว่ามีความแตกต่างกันในอยู่ในแต่ละประเทศ นักท่องเที่ยวชาวอเมริกาใต้ อังกฤษ และอิตาลีมีความโน้มเอียงไปที่แรงจูงใจด้าน “ความรู้สึกมีสมดุล” นักท่องเที่ยวชาวบราซิล, ชาวไทย และชาวจีนมองหา “ความรู้สึกเป็นอิสระเสรี” ในขณะที่ชาวรัสเซียต้องการ “ความรู้สึกหรูหรา” จากการท่องเที่ยวในวันหยุด ผู้ตอบแบบสอบถามที่เป็นเจ้าของกิจการหรือผู้จัดการโรงแรมก็ต้องทำการเลือกชุดข้อความที่แสดงถึงสิ่งที่พวกเขาต้องการให้แขกที่มาพักรู้สึกในการมาพักผ่อน จากผลการสำรวจ 75 เปอร์เซ็นต์ของผู้ประกอบการโรงแรมชาวไทยต้องการให้แขกที่มาพักรู้สึกถึง “ความรู้สึกมีสมดุล” ซึ่งสอดคล้องกับผู้ประกอบการโรงแรมทั่วโลกที่ 73 เปอร์เซ็นต์ ถึงแม้ว่าผลการสำรวจจากผู้ประกอบการโรงแรมจะไม่สอดคล้องกับผลการสำรวจของนักท่องเที่ยวแต่กว่าครึ่งหนึ่งของผู้ประกอบการโรงแรมชาวไทยก็ให้ความสำคัญกับการนำเสนอประสบการณ์ “ความรู้สึกเป็นอิสระเสรี” (59%) และ “การหลอมลวมตนเองกับวัฒนธรรมท้องถิ่น” (55%) ถือเป็นโอกาสที่ชัดเจนสำหรับผู้ประกอบการโรงแรมในการสร้างความแตกต่างจากคู่แข่งให้กับธุรกิจโดยการนำเสนอประสบการณ์ที่เหนือกว่าให้กับแขกผู้มาพักด้วยการนำเสนอสิ่งที่ตรงกับแรงจูงใจในการเดินทางท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวทั่วโลกนั่นคือ “การเสริมสร้างมุมมองให้ชีวิต” นางบาร์บาร่า เมสซิ่ง ประธานเจ้าหน้าที่การตลาดของทริปแอดไวเซอร์ กล่าวว่า “นักท่องเที่ยวจากบาเซโลนาและปักกิ่งมีความโหยหาประสบการณ์ที่น่าสนใจและเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ ไม่ว่าจะเป็นวันหยุดเพียงสองสามวันหรือวันหยุดยาวสองถึงสามสัปดาห์ที่เป็นวันลาพักร้อนประจำปี พวกเขามักต้องการให้การเดินทางในช่วงวันหยุดเหล่านี้มีคุณค่ามากกว่าการพักผ่อนริมสระน้ำโรงแรมเท่านั้น รายงานจากทริปบารอมิเตอร์จิตวิทยาการท่องเที่ยวแสดงให้เห็นว่านักท่องเที่ยวต้องการให้วันหยุดพักผ่อนเต็มเปี่ยมไปด้วยความหมาย เป็นการขยายขอบเขตประสบการณ์อย่างไม่มีที่สิ้นสุด, การหลอมลวมตนเองเข้ากับวัฒนธรรมท้องถิ่น, การแบ่งปันประสบการณ์กับคนรัก” การเดินทางของนักท่องเที่ยว: นักท่องเที่ยวมีความรู้สึกอย่างไรในแต่ละช่วงของการเดินทาง รายงานจากทริปบารอมิเตอร์ฉบับนี้ทำการตรวจสอบสภาวะอารมณ์ของนักท่องเที่ยวซึ่งมักจะเกิดขึ้นในแต่ละขั้นของการเดินทางแบ่งออกเป็น 5 ขั้น ดังนี้: ขั้นการจอง, เดินทางมาถึง, เดินทางกลับ และเมื่อกลับถึงบ้าน ระดับความตื่นเต้นของนักท่องเที่ยวจะพุ่งถึงขีดสุดเมื่อเดินทางมาถึงสถานที่เที่ยว และจะรู้สึกเติมเต็มมากที่สุดเมื่อเดินทางกลับจากการไปพักผ่อนมาถึงบ้านเรียบร้อยแล้ว นักท่องเที่ยวกว่า 54 เปอร์เซ็นต์ทั่วโลกรู้สึกตื่นเต้นในขั้นการทำการจองสำหรับการเดินทางท่องเที่ยว สำหรับนักท่องเที่ยวชาวไทยมีความรู้สึกตื่นเต้นเพียง 31 เปอร์เซ็นต์ในขั้นการทำการจอง นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและทั่วโลกต่างมีความรู้สึกตื่นเต้นมากที่สุดในขั้นของการเดินทางมาถึงยังสถานที่เที่ยว(นักท่องเที่ยวทั่วโลก: 55%และนักท่องเที่ยวชาวไทย: 40%) รองลงมาคือความรู้สึกกระปรี้กระเป่าในขั้นของการเดินทางมาถึงยังสถานที่เที่ยว(นักท่องเที่ยวทั่วโลก: 34% และ นักท่องเที่ยวชาวไทย: 23%) ระหว่างการพักผ่อนนักท่องเที่ยวทั่วโลกรวมถึงชาวไทยมีความรู้สึกผ่อนคลายมากที่สุด(46%) แต่ก็ยังเป็นช่วงเวลาที่นักท่องเที่ยวเริ่มมีความรู้สึก “มีอิสระเสรี” (นักท่องเที่ยวทั่วโลก: 26%; นักท่องเที่ยวชาวไทย: 34%) และยังรู้สึกว่า “ได้ใกล้ชิดกับคนรัก” (นักท่องเที่ยวทั่วโลก: 24%; นักท่องเที่ยวชาวไทย: 29%) นักท่องเที่ยวจะเกิดความรู้สึก “เต็มอิ่ม” ทั้งเมื่อเริ่มต้นการเดินทางกลับบ้าน(นักท่องเที่ยวทั่วโลก: 47%; นักท่องเที่ยวชาวไทย: 31%) และเมื่อถึงบ้านเรียบร้อยแล้ว(นักท่องเที่ยวทั่วโลก: 45%; นักท่องเที่ยวชาวไทย: 31%) นักท่องเที่ยวผู้ร่วมตอบแบบสอบถามทั่วโลก 36 เปอร์เซ็นต์ และนักท่องเที่ยวชาวไทย 30 เปอร์เซ็นต์ต่างรู้สึก “ผ่อนคลาย” ในการเดินทางไปท่องเที่ยวในวันหยุด ผู้ประกอบการโรงแรมสามารถใช้โอกาสในช่วงขณะที่นักท่องเที่ยวรู้สึกตื่นเต้นเพื่อช่วยเสริมประสบการณ์การเดินทางตลอดช่วงเวลาที่นักท่องเที่ยวพักอยู่ที่โรงแรมได้ จากการวิจัยผู้ประกอบการโรงแรมจะถูกถามคำถามว่าพวกเขาได้ทำอะไรที่เป็นการเชื่อมโยงกับนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาพัก 45 เปอร์เซ็นต์ของผู้ประกอบการโรงแรมชาวไทยกล่าวว่าสิ่งสำคัญเป็นอันดับแรกคือการรับประกันถึงความราบรื่นละมีประสิทธิภาพในกระบวนการจองห้องพัก และ 32 เปอร์เซ็นต์เน้นการลดความตึงเครียดต่างๆที่อาจเกิดขึ้นของนักท่องเที่ยวขณะที่เดินทางมาถึงยังที่พัก อย่างไรก็ตามยังมีอีกหลายๆสิ่งที่ผู้ประกอบการโรงแรมสามารถทำได้เพื่อช่วยเพิ่มพูนประสบการณ์ความตื่นเต้นของนักท่องเที่ยวตั้งแต่เริ่มต้นด้วยการให้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยวในท้องถิ่นนั้นๆ และสามารถสานสัมพันธ์กับแขกที่จะมาพักก่อนที่พวกเขาจะมาถึง ผลกระทบหลังจากการเดินทางท่องเที่ยว: ประสบการณ์จากการท่องเที่ยวในวันหยุดส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวันอย่างไร นักท่องเที่ยวมักจะนำของที่ระลึกติดมือกลับบ้านจากการเดินทางวันหยุด มากไปกว่านั้น ในการวิจัยของทริปบารอมิเตอร์ชิ้นนี้ ผู้ตอบแบบสอบถามถูกถามคำถามให้ย้อนคิดถึงการเดินทางท่องเที่ยวของตนว่าอะไรเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นทันทีหลังจากลับมาจากการเดินทางท่องเที่ยว จำนวน 2 ใน 3 ของนักท่องเที่ยวทั่วโลกและ 50 เปอร์เซ็นต๋ของนักท่องเที่ยวชาวไทย รายงานว่าสิ่งแรกที่ทำหลังจากการเดินทางกลับจากการท่องเที่ยวคือการวางแผนการท่องเที่ยวในครั้งหน้า และมากกว่า 38 เปอร์เซ็นต์ของนักท่องเที่ยวทั่วโลกและ 22 เปอร์เซ็นต์ของนักท่องเที่ยวชาวไทยเพิ่มเมนูอาหารใหม่ๆเข้ามา จากการศึกษายังเผยให้เห็นอีกว่านักท่องเที่ยวจากแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีแนวโน้มที่จะเปิดใจและมีความอดทนมากกว่านักท่องเที่ยวจากภูมิภาคอื่น และยังพร้อมที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆจากการเดินทางท่องเที่ยว ในความเป็นจริงนักท่องเที่ยวชาวไทยถูกจัดอันดับให้เป็นชาติที่เปิดใจ มีความอดทนมากกว่าชาติอื่นๆ(41%) และยังเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ(49%) จากการเดินทางท่องเที่ยว สถิติที่น่าสนใจสำหรับนักท่องเที่ยวชาวไทยคือ 18 เปอร์เซ็นต์เกิดความสัมพันธ์ครั้งใหม่ในขณะเดินทางท่องเที่ยว และ 11 เปอร์เซ็นต์เริ่มต้นสร้างครอบครัวหลังจากการเดินทางท่องเที่ยว ซึ่งเป็นตัวเลขที่น่าสนใจเมื่อเปรียบเทียบกับ 8 เปอร์เซ็นต์และ 4 เปอร์เซ็นต์ซึ่งเป็นสถิติของนักท่องเที่ยวทั่วโลก เมื่อพิจารณานักท่องเที่ยวชาวไทยจากกลุ่มอายุแล้ว กลุ่มคนยุคมิลเลนเนี่ยมมักจะนำอาหารหรือสูตรอาหารใหม่ๆที่ได้ลิ้มลองขณะเดินทางท่องเที่ยวมารับประทานในเมนูประจำวัน(22%) นักท่องเที่ยวชาวไทยซึ่งเป็นคนในยุคมิลเลนเนี่ยมมักนำกิจกรรมที่ได้ลองทำในช่วงที่เดินทางท่องเที่ยว กว่าครึ่งหนึ่งของพนักงานโรงแรม ( Global : 57% และ ไทย 58% ) กระตุ้นให้ผู้เข้าพักเขียนรีวิวบนออนไลน์และพร้อมแนะนำโรงแรมให้แก่ครอบครัวและเพื่อน ๆ และโรงแรมที่มีอัตราแขกกลับเข้าไปใช้บริการระหว่าง 76-100 เปอร์เซ็นต์ จะมีแนวโน้มสามารถสร้างความสัมพันธ์ที่ยั่งยืนในระหว่างการเข้าพักของลูกค้าถึง 34% นายมาร์ค ชาร์รอน ประธาน ทริปแอดไวเซอร์ ฟอร์ บิสิเนส กล่าวว่า “ผลทริปบารอมิเตอร์แสดงให้เห็นว่าโรงแรมสามารถสร้างความโดดเด่นจากคู่แข่งได้ด้วยการสร้างบริการเฉพาะตัวและประสบการณ์ที่น่าประทับใจ และนักท่องเที่ยวมักจะตื่นเต้นมากเมื่อเขาจองและเตรียมตัวเดินทาง ซึ่งโรงแรมพลาดโอกาสในการใช้ประโยชน์จากความตื่นเต้นและการเริ่มต้นสร้างความสัมพันธ์ที่ยั่งยืนกับลูกค้าของพวกเขา มีเพียงบางส่วนของโรงแรมที่เล็งเห็นความสำคัญนี้และมีแนวโน้มที่แขกจะเข้าไปรับรับบริการอีกครั้ง"
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น